ด้านนโยบายและแผน

คือ โครงการที่หน่วยงาน/ภาควิชาจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของคณะและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย โดยมีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ปีงบประมาณ กระบวนการและขั้นตอนในการจัดทำโครงการนั้น ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ทางงานนโยบายและแผนและประกันคุณภาพกำหนดไว้

ประเภทของแผนกลยุทธ์

แผนกลยุทธ์สามารถจำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ คือ แผนกลยุทธ์หลัก แผนกลยุทธ์สนับสนุน และ แผนกลยุทธ์เฉพาะกิจ

  1. แผนกลยุทธ์หลัก คือ โครงการที่เป็นภารกิจหลักของคณะฯ และภาควิชาจะต้องดำเนินการ เพื่อสนองวัตถุประสงค์หลักของมหาวิทยาลัย และโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และคล้ายคลึงกันทุกภาควิชา ตัวอย่างดังนี้
    1. โครงการการผลิตบัณฑิต (การจัดการจัดการศึกษา) เช่น โครงการจัดการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรม………… ระดับปริญญา…….. (ตรี / โท / เอก)  ภาค…….. (ปกติ / พิเศษ / สมทบ)  รายละเอียดของกิจกรรม อย่างน้อยขอให้ระบุเป้าหมายจำนวนการรับนักศึกษา เป็นหนึ่งกิจกรรม คือ “การรับนักศึกษา” ส่วนจำนวนการรับนักศึกษาให้บันทึกในเดือนแรกของภาคเรียน เช่น ระดับปริญญาตรี ให้บันทึกลงในช่องเดือนมิถุนายน เป็นต้น
    2. โครงการเปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรม…………….ระดับปริญญา …..(ตรี / โท / เอก)  ภาค…….. (ปกติ / พิเศษ / สมทบ
    3. โครงการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชา…………………ระดับปริญญา ….. (ตรี / โท / เอก)  ภาค…….. (ปกติ / พิเศษ / สมทบ)
    4. โครงการการวิจัย
      • โครงการวิจัยพื้นฐานสาขาวิชาวิศวกรรม………….
      • โครงการวิจัยประยุกต์สาขาวิชาวิศวกรรม………….
    5. โครงการการบริการวิชาการแก่สังคม
      • โครงการฝึกอบรมสาขาวิชาวิศวกรรม………….
    6. โครงการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
      •  โครงการความร่วมมือศึกษา และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน
      • โครงการความร่วมมือศึกษา และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  2. แผนกลยุทธ์สนับสนุน คือ เป็นแผนกลยุทธ์สนับสนุนแผนกลยุทธ์หลักให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิ ภาพและมีประสิทธิผลตามเป้าหมายที่วางไว้ เป็นโครงการที่มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง แต่มีรายละเอียด หรือ วิธีการ หรือ การสนับสนุนในแต่ละภาควิชาที่แตกต่างกัน ตัวอย่างดังนี้
    1. โครงการพัฒนาบุคลากร เช่น การสนับสนุนทุนการศึกษาต่อแก่บุคลากร การสนับสนุนบุคลากรเข้าร่วมฝึกอบรม หรือ การสนับสนุนการจัดฝึกอบรมแก่บุคลากร เป็นต้น
    2. โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เช่น การสนับสนุนคณาจารย์เข้าร่วมประชุม สัมมนาทางวิชาการ การนำเสนอผลงานทางวิชาการ และการสนับสนุนการจัดประชุมสัมมนาทางวิชาการ เป็นต้น
    3. โครงการพัฒนาคุณภาพนักศึกษา เช่น การสนับสนุนกิจกรรมชมรมนักศึกษา การศึกษาดูงาน และการจัดบรรยายพิเศษ เป็นต้น
  3. แผนกลยุทธ์เฉพาะกิจ อ เป็นโครงการที่มีลักษณะการดำเนินการเป็นครั้งคราว ไม่ต่อเนื่อง ตัวอย่างดังนี้
    1. โครงการจัดหาครุภัณฑ์ ควรเป็นโครงการการจัดหาครุภัณฑ์ในลักษณะเป็น Packet  ใหญ่ ๆ หรือ เป็นโครงการจัดหาครุภัณฑ์ทดแทนที่มีราคาสูง ซึ่งจะต้องจัดทำเป็นโครงการของรับการสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษ
    2. โครงการจัดหาที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น โครงการก่อสร้างอาคาร โครงการปรับปรุงต่อเติมอาคาร เป็นต้น

แผนปฏิบัติราชการประจำปี (แผนระยะสั้น)

คือ การนำแผนปฏิบัติราชการ 5 ปี ฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว มาจัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา โดยมีการปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติราชการประจำปี และนำเสนอต่อคณะกรรมการอำนวยการประจำคณะฯ เพื่อพิจารณาอนุมัติบังคับใช้

แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (แผนพัฒนาการศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ ระยะที่ 11 (พ.ศ.2555-2559))

เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีของคณะฯ และแผนกลยุทธ์ของส่วนงานต่างๆ ภายในคณะฯ ให้สามารถ ขับเคลื่อนการดำเนินงานในองค์รวมได้อย่างเป็นระบบและเกิดผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานรอบด้าน โดยมีกรอบยุทธศาสตร์ ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.จัดการศึกษาด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยีที่ทันสมัย เสริมสร้างบัณฑิตให้มีภูมิปัญญา และ จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
    • กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระดับการศึกษาของคณะให้อยู่ใน 2 อันดับแรกของประเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 3  พัฒนาการศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาปริญญาตรี และให้แรงจูงใจเชิงบวกแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในการทำวิจัย และ เรียนรู้
    • กลยุทธ์ที่ 4 สร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ กับหน่วยงานภายนอก ทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 5 สนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ นักศึกษา ที่ส่งเสริมให้เกิดความรู้ คุณธรรม จริยธรรม วินัย และ สร้างจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ
    • กลยุทธ์ที่ 6 สนับสนุนให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามแผน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 2. มุ่งพัฒนาและส่งเสริมหลักสูตรให้มีความเป็นสากล เพื่อผลักดันและส่งเสริมให้คณะฯก้าวเข้าสู่เวทีระดับนานาชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 7 สนับสนุนและส่งเสริมความเป็นนานาชาติให้กับนักศึกษา และพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้ได้มาตรฐานของประเทศไทย(TQF)และมาตรฐานสากล
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 3.ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ ได้รับสิทธิและโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มศักยภาพ
    • กลยุทธ์ที่ 8 สนับสนุนและส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่มีความสามารถพิเศษ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนางานวิจัยและสร้างนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของท้องถิ่น ประเทศและสากล

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.มีการดำเนินงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับ ทั้งในระดับชาติ และ นานาชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 9 สนับสนุนการพัฒนางานวิจัยเชิงบูรณาการ ระหว่างหน่วยงานภายในและ ภายนอก เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 10 สนับสนุนการทำผลงานวิจัยร่วมกับเอกชนเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
    • กลยุทธ์ที่ 11 พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านวิจัย เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานให้เป็นที่รู้จัก แก่สาธารณชน
    • กลยุทธ์ที่ 12 พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการทำวิจัยทั้งภายใน และ ต่างประเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 13 สนับสนุนการหาแหล่งทุนและทรัพยากร จากภายนอก
    • กลยุทธ์ที่ 14 สนับสนุนระบบพี่เลี้ยง (Mentor System) สำหรับกลุ่มวิจัย
    • กลยุทธ์ที่ 15 สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในระดับนานาชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาการบริการวิชาการและการให้บริการบนฐานความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม หรือ ชุมชนเขตภาคเหนือและประเทศชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 16 สนับสนุนการบรูณาการความร่วมมือระหว่างบุคลากร หรือหน่วยงานภายในคณะ เพื่อพัฒนาการบริการด้านวิชาการที่ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
    • กลยุทธ์ที่ 17 สนับสนุนการบรูณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก  เพื่อให้มีการทำงานเชิงรุก โดยใช้หลักการตลาด
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.มุ่งเน้นการให้บริการวิชาการร่วมกับเครือข่าย และให้บริการวิชาการแก่ชุมชน
    • กลยุทธ์ที่ 18 สนับสนุนการบริการวิชาการ เพื่อชุมชนแบบให้เปล่า เพื่อสร้างชื่อเสียงและคุณค่าให้กับคณะ
    • กลยุทธ์ที่ 19 พัฒนาเครือข่ายและแสวงหาทรัพยากร โดยใช้ความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยท้องถิ่นล้านนา และกลุ่มชาติพันธุ์ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.ประยุกต์หลักวิชาการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยีเพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 20 สนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในกิจกรรมและนำความรู้ทางด้านวิศวกรรม เพื่อทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.พัฒนาแผนแม่บทฯ คณะฯ ในการรักษาและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมภายในคณะฯ ให้เป็น Green & Clean Environment
    • กลยุทธ์ที่ 21 พัฒนาแผนแม่บทฯ ในการรักษาและพัฒนาสภาพภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมภายในคณะฯ ให้เป็นสภาพแวดล้อมที่เขียวและ สะอาด Green & Clean Environment

ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาความเป็นสากลของมหาวิทยาลัย

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.พัฒนาความร่วมมือทางการศึกษา การแลกเปลี่ยนนักศึกษา อาจารย์ และการสอน การวิจัย การบริการวิชาการร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคอาเซียน,เอเชียและนานาชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 22 สร้างเครือข่ายและความร่วมมือการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ กับสถาบันวิชาการต่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนและนานาชาติ
    • กลยุทธ์ที่ 23 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนนักศึกษา และบุคลากรชาวต่างประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดี และมีประสิทธิภาพ

  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 1.เสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานของบุคลากร และการเรียนของนักศึกษา ให้มีความสุขตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    • กลยุทธ์ที่ 24 สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางวิชาการ และบุคลากรฝ่ายสนับสนุน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
  • ประเด็นยุทธศาสตร์ 2.พัฒนาระบบการบริหารจัดการของคณะฯ ให้เป็นองค์กรที่มีการจัดการบริหารที่ดี มีคุณภาพ  ภายใต้หลักธรรมภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    • กลยุทธ์ที่ 25 พัฒนาระบบการบริหารองค์กรเพื่อสัมฤทธิ์ผลของงาน ตามหลักธรรมภิบาลและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
    • กลยุทธ์ที่ 26 พัฒนาแผนแม่บทฯ ด้านสารสนเทศ รวมทั้งจัดหาและติดตั้งระบบเครือข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่การศึกษาและการบริหารทั้งหมดของคณะฯ
    • กลยุทธ์ที่ 27 ส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณะฯ กับนักศึกษาเก่าอย่างต่อเนื่อง

 861 total views,  1 views today